วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภาวะโลหิตจาง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง



ภาวะโลหิตจาง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

สาเหตุ
       ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีสาเหตุที่สำคัญได้แก่ร่างกายสร้างฮอร์โมน(Erythropoietin:EPO)ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง และจากการขาดธาตุเหล็กระดับค่าความเข้มข้นของเลือดที่เหมาะสมตามตามมาตรฐานการรักษา คือ 33-36 %ถ้ามากกว่าหรือน้อยกว่านี้จะทำให้มีโรคแทรกซ้อนหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

อาการ
  • หน้ามืด อ่อนเพลีย เวียนศีรษะทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวันกิน-นอน-พักผ่อน ซีดเป็นลมง่าย วูบ
  • เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเช่นเดินขึ้นบันได ทนต่ออากาศหนาวเย็นได้น้อย
  • ลิ้นเลี่ยน กินไม่อร่อย
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • กิจกรรมทางเพศลดลง


อันตรายจากภาวะซีด
  • หัวใจห้องล่างซ้ายโต หัวใจทำงานหนักมากกว่าปกติ
  • เพิ่มอัตราการตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย


การรักษา
                 มีอาการสงสัยว่าจะเป็นโลหิตจางควรไปพบแพทย์เพื่อรับวินิจฉัยหากมีภาวะขาดสารดังกล่าวจริงแพทย์จะให้การรักษาโดย
  • ให้ธาตุเหล็กเสริม มีทั้งรูปแบบกินและแบบฉีด การกิน เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ราคาถูก ขนาดที่ทานคือ 200มิลลิกรัม วันละสามครั้ง ปัญหาคือในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมักมีการดูดซึมเหล็กที่ทางเดินอาหารได้ไม่ดี อาจถูกรบกวนการดูดซึมโดยยาบางชนิดเช่น แคลเซียม อลูมิเนียม ยาลดกรด หรือมีการสูญเสียเลือดในทางเดินอาหาร
  • ให้ฮอร์โมน(EPO)ฉีดเพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูกป้องกันภาวะโลหิตจาง
  • ให้เลือดในรายที่ซีดมาก แต่การให้เลือดเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซี และไวรัสเอดส์ อาจทำให้เกิดโอกาสสลัดไตในการปลูกถ่ายไต ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการให้เลือด ในผู้ที่มีแผนจะปลูกถ่ายไตในอนาคต


ข้อสังเกต แม้จะมีวิธีในการดูแลภาวะซีดหลายแนวทางแต่วิธีที่คุ้มค่าที่สุดคือการรับประทานธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอถูกต้อง การรับประทานเหล็กอาจมีอาการท้องผูก ปวดท้อง  รู้สึกไม่สบายท้อง  อาจทำให้เบื่ออาหารได้ อาจแก้ไขโดยกินในขณะท้องว่าง 2 ชั่วโมงก่อนหรือ 1 ชั่วโมง หลังอาหาร เพื่อเพิ่มการดูดซึมหรือกินก่อนนอน
  • ภาวะที่ทำให้ฉีดฮอร์โมน EPO ไม่ได้ผล
  • ภาวะขาดเหล็กอย่างรุนแรงเพราะการสร้างเม็ดเลือดแดงต้องมีทั้งEPO และเหล็ก
  • ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงจะมีผลยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ภาวะขาดวิตามินในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นโฟลิค
  • ภาวะที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อในร่างกาย
  • ภาวะของเสียคั่งจากขาดฟอก
  • ผู้ที่ทานยาจับฟอตเฟตเช่นอลูมิเนียม
  • ผู้ที่มีการสูญเสียเลือดบ่อยครั้ง

การป้องกันภาวะซีด
  • ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและยาบำรุงเลือดเพียงพอ เช่นโฟลิค
  • รับประทานเหล็กอย่างถูกต้อง ทั้งขนาดและวิธีการรับประทาน ตามแพทย์สั่ง
  • ไม่ควรงดการฟอกเลือด
  • แจ้งให้พยาบาลทราบถ้ามีเลือดออกในร่างกายหรือเป็นแผลตามร่างกาย เช่น อาการเลือดออกตามไรฟัน มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารอุจจาระเป็นสีดำ หรือเป็นริดสีดวงทวารจะมีเลือดขณะอุจจาระ มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อเป็นต้น ในผู้หญิงควรแจ้งทุกครั้งที่มีประจำเดือน
  • ผู้ป่วยทานยาละลายลิ่มเลือดควรแจ้งให้ทราบด้วย
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5หมู่ งดอาหารรสจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย