วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คลินิกจะปิดทำการ 23 พ.ย. 55





คลินิกเส้นเลือกขอด  เส้นฟอกไต
By : คลินิกหมอกิตติพันธุ์ – หมออมราภรณ์

ทางคลินิกขอเรียนให้ท่านทราบว่า คลินิกจะปิดทำการ 1 วันนะคะ  คือวันศุกร์ที่ 23  พ.ย. 55  และจะเปิดให้บริการตามปกติในวันเสาร์ ที่ 24 พ.ย. 55 เวลา 09.00 – 12.00 น. ค่ะ



วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันนี้คลินิกเปิดทำการแล้วนะคะ...




           สวัสดีค่ะ หลังจากที่คลินิกได้หยุดอย่างกระทันหัน ไปต้องกราบขออภัยคนไข้ทุกท่านด้วยนะคะ  วันนี้คลินิกเปิดทำการตามปกติแล้วค่ะ  เวลา 17.00 - 20.00 น.

               สำหรับท่านที่ต้องการปรึกษา กับ ศ.กิตติพันธุ์  ฤกษ์เกษม  อาจารย์จะออกตรวจ ตั้งแต่เวลา 18.00 เป็นต้นไปค่ะ

              อ.อมราภรณ์  ฤกษ์เกษม  ออกตรวจ เวลา 19.00 เป็นต้นไปนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คลินิกปิดทำการ วันที่ 12 -15 พ.ย. 55




            ทางคลินิกขอเรียนให้ท่านทราบว่า คลินิกจะปิดทำการ ระหว่างวันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน  2555  นะคะ

             และจะเปิดให้บริการตามปกติในวันศุกร์ที่ 16  พฤศจิกายน 2555  เวลา 17.00 - 20.00 น. 

           

ข้อน่ารู้ของ ยาหยอดหู




สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหู และได้รับยาหยอดหู อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเก็บรักษา และผลข้างเคียงในการใช้ สำหรับคำถามยอดฮิตที่ได้รับการถามเกี่ยวกับยาหยอดหู คือ
1.อยากทราบว่ายาหยอดหูเมื่อเปิดใข้แล้วจะเก็บไว้ได้นานหรือไม่
2.หลังจากเปิดแล้วควรเก็บไว้ที่ใด
3.การใช้ยาหยอดหูและแคะหูบ่อย ๆ จะมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง 


คำตอบโดย นพ.ณวัฒน์ วัฒนชัย  

ไม่นานครับ ยาชนิดที่มีสารกันบูดอยู่ด้วย ก็ไม่ควรจะเกิน 1 เดือน (แต่ยาบางชนิดก็ระยะเวลาสั้นกว่านั้น โดยเฉพาะยาบางตัวที่ผสมกันในแต่ละโรงพยาบาล) 
ถ้าไม่ลำบากก็เก็บไว้ในตู้เย็น แล้วมายืนหยอดกันหน้าตู้เย็นก็ได้ครับ 
ไม่ควรแคะหู หรือใช้ไม้พันสำลีนะครับ หมอหูคอจมูกบางท่านเคยบอกกับผมว่า ไม่ควรเอาอะไรที่เล็กกว่าข้อศอกใส่เข้าไปในรูหู - ก็คือ - ไม่ต้องแคะกันดีกว่า เพราะกลไกของร่างกายตามปกติ ก็จะมีการขับขี้หูออกมาเองอยู่แล้ว
ผลข้างเคียง - กลไกการกำจัดขี้หูจะเสียไป, ถ้าแคะไม่ดีก็จะยิ่งดันเอาขี้หูบางส่วนลึกเข้าไปอีก และอาจบวมเมื่อถูกน้ำ ทำให้ปวดได้ครับ 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก  Thaiclinic.com

ภาวะโลหิตจาง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง



ภาวะโลหิตจาง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

สาเหตุ
       ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีสาเหตุที่สำคัญได้แก่ร่างกายสร้างฮอร์โมน(Erythropoietin:EPO)ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง และจากการขาดธาตุเหล็กระดับค่าความเข้มข้นของเลือดที่เหมาะสมตามตามมาตรฐานการรักษา คือ 33-36 %ถ้ามากกว่าหรือน้อยกว่านี้จะทำให้มีโรคแทรกซ้อนหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

อาการ
  • หน้ามืด อ่อนเพลีย เวียนศีรษะทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวันกิน-นอน-พักผ่อน ซีดเป็นลมง่าย วูบ
  • เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเช่นเดินขึ้นบันได ทนต่ออากาศหนาวเย็นได้น้อย
  • ลิ้นเลี่ยน กินไม่อร่อย
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • กิจกรรมทางเพศลดลง


อันตรายจากภาวะซีด
  • หัวใจห้องล่างซ้ายโต หัวใจทำงานหนักมากกว่าปกติ
  • เพิ่มอัตราการตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย


การรักษา
                 มีอาการสงสัยว่าจะเป็นโลหิตจางควรไปพบแพทย์เพื่อรับวินิจฉัยหากมีภาวะขาดสารดังกล่าวจริงแพทย์จะให้การรักษาโดย
  • ให้ธาตุเหล็กเสริม มีทั้งรูปแบบกินและแบบฉีด การกิน เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ราคาถูก ขนาดที่ทานคือ 200มิลลิกรัม วันละสามครั้ง ปัญหาคือในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมักมีการดูดซึมเหล็กที่ทางเดินอาหารได้ไม่ดี อาจถูกรบกวนการดูดซึมโดยยาบางชนิดเช่น แคลเซียม อลูมิเนียม ยาลดกรด หรือมีการสูญเสียเลือดในทางเดินอาหาร
  • ให้ฮอร์โมน(EPO)ฉีดเพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูกป้องกันภาวะโลหิตจาง
  • ให้เลือดในรายที่ซีดมาก แต่การให้เลือดเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซี และไวรัสเอดส์ อาจทำให้เกิดโอกาสสลัดไตในการปลูกถ่ายไต ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการให้เลือด ในผู้ที่มีแผนจะปลูกถ่ายไตในอนาคต


ข้อสังเกต แม้จะมีวิธีในการดูแลภาวะซีดหลายแนวทางแต่วิธีที่คุ้มค่าที่สุดคือการรับประทานธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอถูกต้อง การรับประทานเหล็กอาจมีอาการท้องผูก ปวดท้อง  รู้สึกไม่สบายท้อง  อาจทำให้เบื่ออาหารได้ อาจแก้ไขโดยกินในขณะท้องว่าง 2 ชั่วโมงก่อนหรือ 1 ชั่วโมง หลังอาหาร เพื่อเพิ่มการดูดซึมหรือกินก่อนนอน
  • ภาวะที่ทำให้ฉีดฮอร์โมน EPO ไม่ได้ผล
  • ภาวะขาดเหล็กอย่างรุนแรงเพราะการสร้างเม็ดเลือดแดงต้องมีทั้งEPO และเหล็ก
  • ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงจะมีผลยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ภาวะขาดวิตามินในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นโฟลิค
  • ภาวะที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อในร่างกาย
  • ภาวะของเสียคั่งจากขาดฟอก
  • ผู้ที่ทานยาจับฟอตเฟตเช่นอลูมิเนียม
  • ผู้ที่มีการสูญเสียเลือดบ่อยครั้ง

การป้องกันภาวะซีด
  • ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและยาบำรุงเลือดเพียงพอ เช่นโฟลิค
  • รับประทานเหล็กอย่างถูกต้อง ทั้งขนาดและวิธีการรับประทาน ตามแพทย์สั่ง
  • ไม่ควรงดการฟอกเลือด
  • แจ้งให้พยาบาลทราบถ้ามีเลือดออกในร่างกายหรือเป็นแผลตามร่างกาย เช่น อาการเลือดออกตามไรฟัน มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารอุจจาระเป็นสีดำ หรือเป็นริดสีดวงทวารจะมีเลือดขณะอุจจาระ มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อเป็นต้น ในผู้หญิงควรแจ้งทุกครั้งที่มีประจำเดือน
  • ผู้ป่วยทานยาละลายลิ่มเลือดควรแจ้งให้ทราบด้วย
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5หมู่ งดอาหารรสจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย

เป็นแผลร้อนในบ่อย ทำอย่างไร





 อาการแผลร้อนในบ่อยๆ จะทำอย่างไร เนื่องจากเป็นการสร้างความลำคาญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นอุปสรรคในการรับประทานอาหารของเราด้วย เวลาพูดมักจะมีกลิ่นปาก ซึ่งทำให้ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม จะทำอย่างไรดี ......

คำตอบโดย ทพญ.สุจิตรา จิรกุลวัฒนาพร ทันตแพทย์

        เนื่องจากแผลร้อนในนั้น สาเหตุของการเกิดที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบแน่ชัดคะ  แต่สงสัยว่าเป็นแบคทีเรียหรือไวรัสตัวหนึ่งตัวใดเป็นสาเหตุทำให้เกิด โดยระยะเวลาที่เป็นมักอยู่ในช่วง 7- 14 วันคะ ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของแผลคะ 

     แผลชนิดนี้ เมื่อหายแล้วมักจะเป็นใหม่อีกอยู่เรื่อยๆได้คะ ส่วนการรักษา ก็จะขึ้นอยู่กับบุคคลและความรุนแรงของโรคคะ ไม่ควรใส่ยาผง หรือยาที่มีฤทธิ์กัดแผล เพราะจะทำให้อาการของแผล รุนแรงยิ่งขึ้นหรือแผลอาจหายช้ากว่าเดิมได้คะ จริงๆแล้ว แผลร้อนในนี้สามารถหายเองได้คะ 

     สำหรับการปฏิบัติตัวนั้น ช่วงนี้ ควรให้ ทานอาหารอาหารที่มีประโยชน์ และควรพักผ่อนให้เพียงพอคะโดยในระหว่างที่เป็นเราอาจใช้ยาทาพวกลดอาการระคายเคืองของแผล เช่นพวก Kenalogก็ได้คะ

     แล้วก็ควร หมั่นดูแล รักษา ความสะอาดของช่องปากและฟันให้ดีด้วยคะ เท่านั้นหล่ะคะ อีกไม่กี่วัน แผลร้อนในก็จะหายเองคะ

ขอขอบคุณที่มาจาก  เว็บไซต์ ไทยคลินิคดอมคอม

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดูแลสุขภาพตัวเองเมื่อ .ความดันต่ำ หน้ามืด เวียนศีรษะ





เราจะดูแลตัวเองอย่างไร หรือว่าสังเกตุอย่างไรเมื่อมีความดันต่ำ (ความดันตก) หน้ามืด เวียนศีรษะ ...

  • ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง, ปวดท้องหรืออาเจียนรุนแรง, ถ่ายอุจจาระดำ, ใจหวิวใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็ว, เหงื่อแตกท่วมตัว, หรือลุกนั่งมีอาการเป็นลม ต้องไปหาหมอโดยเร็ว...
  • ถ้าไม่มีอาการในข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้

ให้นอนลงสักครู่ แล้วลุกขึ้นใหม่ โดยลุกช้าๆ อย่าลุกพรวดพราดเช่น ค่อยๆ ลุกจากท่านอนเป็นท่านั่ง แล้วนั่งพักสักครู่ ขยับและเกร็งขาหลายๆ ครั้ง, แล้วค่อยๆ ลุกขึ้นยืน, ยืนนิ่งอยู่สักครู่ แล้วจึงค่อยเดิน.


  • ถ้ายังมีอาการ ให้กินยาหอม.
  • ถ้าเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ควรไปหาหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ.
  • ถ้ามีอาการบ้านหมุน ดู บ้านหมุน_(เห็นบ้านหรือสิ่งรอบตัวหมุน).


การป้องกัน
ให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นทีละน้อย, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, และดื่มน้ำมากๆ.

ขอบคุณ นิตยสาร หมอชาวบ้าน ภาพอินเทอร์เนต

ปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตัวเอง...เมื่อ ของเข้าหู...



ทำอย่างไรเมื่อ...ของเข้าหู...

          ไม่ว่าจะเป็นแมลง หรือว่าสิ่งของเล็กๆ ก็สามารถเข้าไปในหูของเราได้ โดยไม่ทราบสาเหตุแล้วเราจะทำอย่างไร เพื่อเป็นการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์...


  • ตะแคงศีรษะ หันหูข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ลงด้านล่าง ตบศีรษะด้านบนเบาๆ ให้สิ่งแปลกปลอมหล่นออกมา.
  • ถ้าไม่ออก หยอดน้ำมันพืช 3-4 หยด เข้าในหูข้างนั้น แล้วทำข้อ 1 ซ้ำ.
  • ถ้าไม่ออก ห้ามแคะ เพราะจะดันสิ่งแปลกปลอมเข้าไปลึก, ควรรีบไปหาหมอ.




ขอบคุณข้อมูล จาก นิตยสารหมอชาวบ้าน ภาพจาก Internet

ดูแลสุขภาพตัวเอง เมื่อ...ก้างติดคอ หรือสงสัย




ดูแลสุขภาพตัวเอง เมื่อ...ก้างติดคอ หรือสงสัย
 
       สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการรับประทานปลา  เมื่อเกิดอาการ ก้างติดคอ หรือสงสัยว่าก้างติดคอ มีวิธีที่ดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้น ดังนี้ค่ะ


  • กลืนก้อนข้าวสุก หรือกล้วยทั้งคำ หรือก้อนขนมปังนิ่มๆ โดยไม่ต้องเคี้ยว.
  • ถ้ายังไม่หลุด กลืนน้ำส้มสายชูเจือจาง ก้างจะอ่อนลงได้.
  • ถ้ายังไม่หลุด ควรไปหาหมอ.

ขอบคุณข้อมูล จาก นิตยสารหมอชาวบ้าน ภาพจาก Internet


ดูแลตัวเอง..เมื่อเป็นไซนัสอักเสบ....





            เมื่อสงสัยเป็นไซนัสอักเสบ เช่น ปวดใบหน้า มีน้ำมูกหรือเสมหะเป็นหนอง คัดแน่นจมูกเรื้อรัง มีอาการ เป็นไข้หวัดนานเกินปกติควรปรึกษาแพทย์

            เมื่อตรวจพบว่าเป็นไซนัสอักเสบ ก็ควรกินยาตามที่แพทย์สั่งให้การรักษาอย่างจริงจัง และติดตามผลการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง

            ไม่ควรรักษาด้วยการซื้อยาชุดกินเองหรือรักษาแบบพื้นบ้าน อาจไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียงร้ายแรงได้

นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตัวดังนี้


  • ดื่มน้ำมากๆ
  • สูดดมไอน้ำอุ่น และล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ (ในกรณีที่แพทย์แนะนำและสอนให้ทำ)
  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ควันบุหรี่ และมลพิษทางอากาศ
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเครื่องบินในขณะที่เป็นไข้หวัด หวัดภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบกำเริบ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรกินยาแก้คัดจมูก ได้แก่ สูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) ครั้งละ 1-2 เม็ดก่อนเดินทาง และซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมงระหว่างเดินทางระยะไกล
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำนานๆ เนื่อง จากคลอรีนในสระอาจทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุจมูกและไซนัสได้

การป้องกัน

หมั่นดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง (เช่น กินอาหาร สุขภาพ ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ คลายเครียด) ป้องกันอย่าให้เป็นไข้หวัดบ่อย และถ้าเป็นโรคหวัดภูมิแพ้ควรรักษาอย่างจริงจัง ก็อาจลดความเสี่ยงต่อการเป็ไซนัสอักเสบลงได้



ขอบคุณ ข้อมูลดีๆ
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 332 เดือน/ปี: ธันวาคม 2006 คอลัมน์: สารานุกรมทันโรค นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

ทำอย่างไร เมื่อเป็นไซนัสอักเสบ (โพรงจมูกอักเสบ)




จะทำอย่างไรเมื่อเป็นไซนัสอักเสบ (โพรงจมูกอักเสบ) 

1.  ลดหรือกำจัดอาการคัดจมูก อาการคัดจมูก และกำจัดน้ำมูกโดยหาท่าที่น้ำมูกออกได้ดีที่สุด แล้วอยู่ในท่านั้นบ่อยๆ ถ้าเป็นเรื้อรัง ควรใช้น้ำเกลือสวนล้างจมูกตามคำแนะนำของหมอ.

2.  ถ้าปวดหัว หรือมีไข้ ให้กิน ยาแก้ปวดลดไข้.

3.  ถ้าน้ำมูกเป็นหนอง ควรไปหาหมอเพื่อพิจารณาให้ ยาปฏิชีวนะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจต้องกินติดต่อกันนานอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์.

           การป้องกัน ออกกำลังกายเป็นประจำ ระวังไม่ให้คัดจมูกหรือเป็นหวัดบ่อยๆ.

ขอบคุณ

นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 332
เดือน/ปี: ธันวาคม 2006
คอลัมน์: สารานุกรมทันโรค
นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

เลือกรองเท้าอย่างไร...ให้เหมาะกับเท้า





คำถามที่เป็นประโยชน์จากนิตยสารหมอชาวบ้านเกี่ยวกับการเลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้าของแต่ละคน

ถาม : นิรมล/นครราชสีมา

           เวลาใส่รองเท้าแล้วจะปวดนิ้วและอุ้งเท้ามากเลยค่ะ เคยลองเปลี่ยนมาหลายแบบแล้วก็ไม่หาย มีวิธีการเลือกรองเท้าให้เข้ากับรูปทรงของเท้าตัวเองและเลือกให้เหมาะกับสุขภาพเท้าอย่างไรบ้าง

ตอบ : พญ.นวพร ชัชวาลพานิชย์

            การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับเท้ามีหลักอยู่ว่า ใส่แล้วสบาย เดินได้ทั้งวัน ถ้ารองเท้าที่สวมใส่ไม่เหมาะสม เช่น ใส่รองเท้าหน้าแคบหรือรองเท้าส้นสูง อาจทำให้เกิดอาการปวดเท้าหรือมีความผิดปกติกัยรูปเท้า เนื่องจากเท้าถูกบีบรัดซึ่งลักษณะเท้าของแต่ละคนจะแตกต่างกัน เช่น

อุ้งเท้าแบน ทำให้ปวดบริเวณอุ้งเท้าส่วนกลาง เนื่องจากเอ็นซึ่งทำหน้าที่ยกอุ้งเท้าถูกดึงยืด ควรสวมรองเท้าเสริมอุ้งเท้า เพื่อพยุงไม่ให้ส้นเท้าบิดและเท้าล้มเข้าด้านใน

อุ้งเท้าสูง จะมีปัญหาปวดบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้าเพราะการรับน้ำหนักของอุ้งเท้าส่วนกลางหายไป รองเท้าจึงควรมีลักษณะเสริมอุ้งเท้าเพื่อช่วยกระจายน้ำหนักจากฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้าที่อุ้งเท้า และควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและมีความยืดหยุ่น

ปัญหาที่พบบ่อยในผู้ที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำคือ ปวดฝ่าเท้าด้านหน้า ผู้ที่มีอาการนี้จึงควรใส่รองเท้าส้นเตี้ย มีพื้นนิ่ม และมีหน้ารองเท้ากว้าง เพื่อลดการบีบและเสียดสีของรองเท้า

ผู้ป่วยเบาหวาน ปลายประสาททำงานผิดปกติ ทำให้เท้าชา มีนิ้วเท้าหงิกงอ ฝ่าเท้าด้านหน้ารับน้ำหนักมาก และนิ้วเท้าเสียดสีกับหัวรองเท้า จึงควรเลือกใส่รองเท้าพื้นนิ่ม มีหัวลึกและกว้าง ห้ามใช้รองเท้าคีบเพราะอาจจะทำให้เกิดแผลบริเวณร่องนิ้วเท้าโดยไม่รู้ตัว

การเลือกรองเท้า ควรเลือกคู่ที่มีขนาดพอดีตัว คือ ส้นเท้าจะชิดส้นรองเท้าพอดีและมีด้านหน้าเหลือประมาณครึ่งนิ้ว จะต้องลองสวมใส่รองเท้าทั้ง ๒ ข้างเสมอ หากชอบใส่รองเท้าแตะ ควรเลือกที่มีพื้นนิ่มและเสริมบริเวณอุ้งเท้าถ้าต้องใส่รองเท้าส้นสูควรเลือกที่ใส่แล้วโค้งรับกับฝ่าเท้า เพื่อให้เท้ามีสุขภาพที่ดี

สำหรับรองเท้าส้นสูงมากๆ ถ้าใส่ออกงาน ๒-๓ ชั่วโมง คงไม่มีปัญหา ที่สำคัญคืออย่าใส่เดินทั้งวันเพราะจะมีปัญหากับสุขภาพเท้า

               ผู้ที่ใส่รองเท้าส้นสูงจะทำให้ช่วงหลังแอ่นมาก แต่สามารถคลายกล้ามเนื้อหลังได้ด้วยตัวเอง นั่นคือ นอนหงาย กอดเข่าขึ้น และดึงให้ชิดหน้าอก ค้างไว้ (นับ ๑-๑๐ ) แล้วจึงปล่อยเข่าลง

ขอบคุณ ข้อมูลจาก นิตยสาร หมอชาวบ้าน และ ภาพจาก Internet

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิธีปฐมพยาบาลผู้มีของติดหลอดลม




วิธีปฐมพยาบาลผู้มีของติดหลอดลม

              การสำลักเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปกีดขวางหรืออุดหลอดลม หากแก้ไขไม่ถูกต้องหรือทันที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการเริ่มแรกคือไออย่างรุนแรง ถ้าคนที่สำลักพูดไม่ได้ แสดงว่าอาจจะมีเศษอาหารหรือของอื่นติดอยู่ในหลอดลม ซึ่งถ้าดิ้นรนเพื่อหายใจ อาจทำให้ของนั้นหลุดลึกลงไป
การช่วยเหลือคนที่สำลัก ให้เอาอาหาร ฟันปลอม หรือของอื่นออกจากปาก และพยายามทำให้คนที่สำลักไอแรงๆเพื่อให้ของที่ขวางหลอดลมอยู่หลุดออกมา ถ้าไม่ได้ผลให้จับคนที่สำลักก้มศีรษะต่ำกว่าหน้าอก แล้วตบบริเวณกระดูดสะบักแรงๆ เมื่อคนที่สำลักเริ่มหายใจได้แล้ว ให้นั่งพักและจิบน้ำจนกว่าจะรู้สึกเป็นปกติ


              ถ้าเด็กมีของติดหลอดลม ให้จับตัวเด็กพาดที่เข่าทั้งสองข้างของคุณโดยห้อยหัวเด็กลง ใช้มือข้างหนึ่งรองรับหน้าอกเด็กไว้แล้วตบแรงๆ ที่สะบักเพื่อให้ของที่ติดหลอดลมอยู่หลุดออก ถ้าเป็นเด็กอ่อนให้อุ้มเด็กไว้ด้วยมือข้างหนึ่งให้หัวเด็กห้อยลง แล้วใช้นิ้วตบตรงสะบักไม่เกิน 5 ครั้ง ระวังอย่าใช้แรงมากเท่ากับเวลาที่ช่วยผู้ใหญ่หรือเด็กโต และอย่าสอดนิ้วเข้าไปในปากเด็กนอกจากจะมองเห็นของที่ขวางอยู่ได้ชัด





              วิธีกดท้อง ถ้าใช้วิธีตบไหล่แล้วยังไม่ได้ผลอาจต้องใช้วิธีไฮม์ลิด (Heimlich manoevie) ซึ่งเป็นการกดดันที่ท้องอย่างแรงและเร็วเป็นชุดเพื่อดันกระบังลมขึ้น รวมทั้งบีบเค้นปอดเพื่อให้ลมในหลอดลมดันของที่ติดอยู่ออกมา วิธีนี้ถ้าทำไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายต่อตับและอวัยวะภายในอื่นๆได้จึงใช้เมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้น

              เริ่มโดยยืนหรือคุกเข่าหลังผู้ใหญ่ที่สำลักแล้วกดที่ท้องตามภาพ การทำเช่นนี้จะขับลมที่เหลืออยู่ในปอดออกมาและอาจทำให้สิ่งที่ติดอยู่ในหลอดลมหลุดออกมาด้วย ให้ทำไม่เกิน 5 ครั้งและตรวจดูว่าของที่ติดอยู่หลุดออกมาที่ปากหรือไม่

         อย่าใช้วิธีไฮม์ลิคกับเด็กถ้าไม่เคยได้รับการฝึกฝนมาก่อน ทั้งนี้ให้ใช้มือเพียงข้างเดียว และใช้แรงน้อยกว่าการกดท้องใหญ่ มิฉะนั้นให้เริ่มวิธีช่วยหายใจทันที และอย่าใช้วิธีกับเด็ก อ่อนเด็ดขาด


 ขอบคุณ readersdigestthailand.co.th/health-and-wellbeing ภาพจาก Internet
 
                    

อุปกรณ์ปฐมพยาบาล




              อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือคนเจ็บเบื้องต้น  ใช้ได้ทั้งอาการบาดเจ็บเล็กน้อยและบาดเจ็บรุนแรงก่อนส่งถึงมือแพทย์ ร้านขายยามีชุดปฐมพยาบาลขายทั้งชุด แต่เราอาจจัดขึ้นใช้เองได้ โดยทำไว้ 2 ชุด ชุดหนึ่งสำหรับในบ้าน และอีกชุดหนึ่งที่เล็กกว่าเอาไว้ในรถ

              เก็บชุดปฐมพยาบาลไว้ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดได้สนิท  และอาจติดหมายเลขโทรศัพท์ของแพทย์และแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลใกล้บ้านไว้บนกล่องด้วยก็ได้ นอกจากนี้อาจจดข้อมูลทางการแพทย์ของคนในครอบครัว เช่น หมู่เลือด ยาที่แพ้ และโรคประจำตัว เช่น เบาหวานหรือหอบหืดไว้ด้วย

             ทำเครื่องหมายกล่องชุดปฐมพยาบาลให้เห็นได้ชัด เช่นอาจใช้เครื่องหมายกากบาทสีขาวพื้นเขียว และเก็บไว้บนชั้นให้พันมือเด็ก แต่ต้องหยิบฉวยได้ง่ายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และควรบอกทุกคนในครอบครัวรู้ที่เก็บชุดปฐมพยาบาล

ชุดปฐมพยาบาลในบ้าน ควรมีอุปกรณ์ดังนี้
ยาฆ่าเชื้อและยาล้างแผล ให้ทำความสะอาดแผลที่ถูกของมีคมบาดและแผลสด
สำสี ใช้ชุบยาฆ่าเชื้อแผล
คาลาไมน์โลชั่น ใช้สำหรับอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง
ปลาสเตอร์ปิดแผลขนาดต่างๆใช้สำหรับปิดแผลขนาดเล็ก
ผ้าปิดแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วขนาดต่างๆใช้ปิดแผลขนาดใหญ่
ผ้าปิดตาที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วใช้หรับอาการบาดเจ็บที่ดวงตา
ผ้าพันแผลแบบสวม ใช้สำหรับอาการบาดเจ็บที่นิ้ว ซึ่งจะมีที่ช่วยสวมแนบมาด้วย
ปลาสเตอร์ขนาด 2.5 ซม. 1 ม้วน
ผ้าพันแผลแบบสามเหลี่ยม ใช้พันแผลหรือคล้องแขน
ผ้าพันแผลชนิดบางหรือผ้าพันแผลธรรมดา ใช้เมื่อข้อได้รับบาเจ็บหรือเคล็ด
ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
ครีมแก้แพ้ ใช้เมื่อแมลงกัดต่อย
เข็ดกลัดซ่อนปลาย ใช้กลัดผ้าพันแผล
แหนบหรือปากคีบ ใช้คีบเสี้ยนหรือสิ่งที่ทิ่มผิวหนัง
กรรไกรปลายทื่อ ใช้ตัดปลาสเตอร์และผ้าพันแผล

ในรถ ชุดปฐมพยาบาลขนาดเล็กในรถควรประกอบด้วย
ปลาสเตอร์ปิดแผล
ผ้าปิดแผลแบบฆ่าเชื้อ
ผ้าพันแผลแบบสามเหลี่ยม
ผ้าพันแผลแบบบาง
ครีมฆ่าเชื้อ สำหรับทาแผลถลอก
กรรไกร
เข็มกลัดซ่อนปลาย
ครีมแก้แพ้ สำหรับแผลแมลงกัดต่อย
คาลาไมน์โลชั่น สำหรับแผลเกรียมแดด
ยาแดงหรือทิงเจอร์ไอโอดีน


ข้อมูลจาก  readersdigest  ภาพจาก Internte

ข่าวดี สำหรับลูกค้า ถุงน่องเส้นเลือดขอด ฟูทูโร่



คลินิกเส้นเลือดขอด เส้นฟอกไต
By: คลินิกหมอกิตติพันธุ์ - หมออมราภรณ์ สวัสดีค่ะ

            วันนี้ได้รับข่าวดีจากผู้แทนจำหน่ายถุงน่องเส้นเลือดขอด            ฟูทูโร่ หลังจากที่ได้ให้โปรโมรชั่นพิเศษในฤดูฝนไปแล้วนั้น ผู้แทนที่แสนใจดีก็ได้ ขยายเวลาในการจัดโปรโมรชั่นถุงน่องเส้นเลือดขอดต่อไปถึงสิ้นปีเลยนะคะ  ...

           สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่คลินิกนะคะ

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาการไข้ในเด็ก




คลินิกเส้นเลือดขอด เส้นฟอกไต
By: คลินิกหมอกิตติพันธุ์ - หมออมราภรณ์

              สำหรับวันนี้ ได้ไปอ่านบทความดีๆ เกี่ยวกับอาการของไข้ในเด็ก ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งเลยทีเดียวค่ะ สำหรับผู้ปกครองที่มีลูกเล็ก และไม่ทราบวิธีเกี่ยวกับการปฏิบัติในการดูอาการไข้ในเด็ก หรือสังเกตุอาการไข้ในเด็ก วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น  การให้ยาแก่ เด็ก ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่า ต้องปฏิบัติอย่างไรกันบ้าง


      อาการไข้ในเด็ก
      จะทราบได้อย่างไรว่าลูกมีไข้… เมื่อสงสัยว่าลูกมีไข้ ควรใช้ปรอทวัดไข้ การใช้มือแตะหน้าผาก หรือตามตัวนั้นไม่เพียงพอ ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลจะสะดวกในการใช้ และไม่ต้องเสียเวลาวัดนาน เหมือนปรอทแบบธรรมดา


ลูกมีไข้ถ้า…
      - อุณหภูมิวัดทางก้น >38 ํC
      - อุณหภูมิวัดทางปาก >37.5 ํC
      - อุณหภูมิวัดทางรักแร้ >37.2 ํC
      - อุณหภูมิวัดทางหู >38 ํC ถ้าเครื่องถูก set ที่ rectal mode - > 37.5 ํC ถ้าเครื่องถูก set ที่ oral mode

      ปกติแล้วอุณหภูมิในร่างกายคนเราเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในระหว่างวัน อุณหภูมิร่างกายอาจเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยจากการออกกำลังกาย, อากาศร้อน, อาบน้ำอุ่น หรือใส่เสื้อผ้ามากเกินไป อาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนก็จะทำให้อุณหภูมิที่วัดทางปากสูงกว่าเป็นจริง

สาเหตุของไข้ในเด็ก

      ไข้เป็นอาการอย่างหนึ่ง เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อ ไข้ในระดับต่ำไม่เป็นอันตราย แต่ไข้สูงในเด็กบางรายอาจทำให้ชักได้ ส่วนใหญ่แล้วไข้ในเด็กเกิดจากการติดเชื้อไวรัส บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ฟันขึ้นไม่ทำให้เกิดไข้ ส่วนใหญ่ไข้ที่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสจะอยู่ระหว่าง 38.3-40 ํC จะคงอยู่ 2-3 วัน แล้วหายไปเองถ้าไม่มีการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อน


การดูแลเมื่อเด็กมีไข้

      พยายามให้ดื่มน้ำมากขึ้น, ใส่เสื้อผ้าบาง เพื่อให้ความร้อนจากร่างกายระบายออกได้ดี และทดแทนน้ำที่สูญเสียไปกับเหงื่อ ใช้ยาลดไข้จำพวก พาราเซตามอล, ห้ามใช้แอสไพริน เนื่องจากอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ หากไข้นั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางตัว
     
      การให้ยาลดไข้ ควรให้เมื่อมีไข้ เกิน 38.5 ํC ไข้ต่ำ ๆ ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ยกเว้นในรายที่มีปัญหาเรื่องลมชัก ไข้ต่ำ ๆ ยังช่วยให้ร่างกายต่อสู้เชื้อโรคได้ดี

การเช็ดตัวลดไข้
      ควรทำควบคู่ไปกับการให้ยาลดไข้ ไม่จำเป็นกรณีที่ไข้ไม่สูงมาก, ควรเช็ดตัวลดไข้ในกรณีที่
 1.มีชักจากไข้สูง
 2.มีไข้เกิน 40 ํC การเช็ดตัวโดยไม่จำเป็นอาจทำให้เด็กหนาวสั่น ซึ่งอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นอีก การเช็ดตัวให้ใช้น้ำอุ่นเล็กน้อยประมาณ 29-32 ํC ไม่ควรใช้น้ำเย็นหรือน้ำอุ่นจัด


ควรพบแพทย์ทันที หากมีอาการ…
      - อายุน้อยกว่า 3 เดือน แล้วมีไข้
      - ไข้สูงกว่า 40.5 ํC
      - เด็กดูซึมลง

ควรพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หากมีอาการ…
      - อายุระหว่าง 3 - 6 เดือน ยกเว้นไข้ที่เกิดหลังฉีดวัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
      - ไข้ระหว่าง 40 - 40.5 ํC
      - มีไข้มานานกว่า 24 ชั่วโมง โดยไม่มีอาการเป็นหวัดร่วมด้วย
      - มีไข้นานกว่า 3 วัน
      - ไข้ลดลงมากกว่า 24 ชั่วโมง แล้วกลับมาใหม่
      -ผู้ปกครองมีความกังวลเดียวกับความเจ็บป่วย

ขอขอบคุณ
ข้อมูลสุขภาพ ศูนย์ศรีพัฒน์