วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ท่านเคยเห็น ขาบวม ขาลาย แผลเรื้อรังที่ขาหรือไม่

โรคหลอดเลือดดำคืออะไร

โรคหลอดเลือดดำ เป็นโรคที่ผู้ป่วยและคนในประเทศไทยมักจะไม่คุ้น โดยพื้นฐานแล้วเรามีเลือดไปเลื้ยงส่วนต่างๆของร่างกายออกจากหัวใจ และหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเรียกว่า หลอดเลือดแดง แต่หลอดเลือดที่นำจากเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายกลับสู่หัวใจคือ หลอดเลือดดำ ซึ่งหลอดเลือดดำที่มีปัญหามากที่สุดในร่างกาย ก็มักจะเป็นหลอดเลือดดำที่บริเวณขา เพราะขาอยู่ไกลจากหัวใจมากที่สุด ดังนั้นการนำพาของเลือดดำกลับสู่หัวใจจึงทำได้ยาก ถ้ามีความผิดปกติจะเกิดปัญหาได้ง่าย โดยปกติแล้วเลือดจะนำกลับสู่หัวใจได้โดยมีลิ้นบังคับทิศทางของเลือดอยู่ (รูปหมายเลข 1) แต่บางครั้งถ้าการไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก เช่น การเกิดก้อนเลือดไปอุดตันในหลอดเลือด เลือดก็ไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก หรือถ้าลิ้นบังคับทิศทางของเลือดผิดปกติ จึงเปรียบเสมือนวาล์วน้ำในท่อน้ำปะปาปิดไม่สนิทก็จะมีการรั่วของน้ำออกมาตามก๊อกน้ำต่างๆ เช่นเดียวกันกับหลอดเลือดดำ เมื่อลิ้นในหลอดเลือดดำปิดไม่สนิทก็มีการรั่วของเลือดออกมาที่บริเวณเท้าและขา ซึ่งอยู่ส่วนที่ต่ำที่สุดของร่างกาย
รูปหมายเลข 1


ผู้ป่วยสามารถมีอาการอันใดบ้างในโรคหลอดเลือดดำ

                ผู้ป่วยโรคดังกล่าวสามารถมีอาการแสดงได้หลากหลาย เช่น ถ้าผู้ป่วยมีโรคก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการขาบวม
(รูปหมายเลข 2)



หรืออาการขาบวมดังกล่าวมักจะบวมอย่างฉับพลัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการขาเน่าได้ หรือถ้ามีลิ้นหลอดเลือดรั่ว ถ้าเป็นลิ้นรั่วเล็กๆ ผู้ป่วยก็จะมีอาการเส้นเลือดฝอยแตกตามขา
(รูปหมายเลข 3)

หรือถ้าเป็นลิ้นรั่วใหญ่ๆ ผู้ป่วยก็สามารถเป็นเส้นเลือดขอดขึ้นตามขา
 (รูปหมายเลข 4)

 และถ้าผู้ป่วยเหล่านี้ ปล่อยทิ้งไว้นานๆ ผู้ป่วยก็จะมีอาการขาบวมและผิวหนังดำขึ้นตามขา
(รูปหมายเลข 5)

และถ้าอาการดังกล่าวยังไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยก็จะมีอาการของแผลเรื้อรัง
(รูปหมายเลข 6)

และแผลเหล่านี้สามารถที่จะเป็นมะเร็งได้

                      สังเกตได้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อที่ขาเวลาเดินหรือยืน ถ้าในขณะนั่งหรือนอนยกขาสูงอาการจะดีขึ้น ผู้ป่วยเส้นเลือดขอดหลายๆคนมักจะพบว่า มีเส้นเลือดขอดมาตั้งแต่อายุน้อยและพ่อแม่มักจะเป็นเส้นเลือดขอดด้วย ยิ่งในสุภาพสตรีระหว่างการตั้งครรภ์จะเกิดอาการและหลังการตั้งครรภ์เส้นเลือดขอดจะเป็นมากขึ้น

การรักษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดดำสามารถทำได้อย่างไรบ้าง
                     
                       การรักษามีได้หลายอย่างตั้งแต่การพันขา การทานยา และการผ่าตัด โดยที่ผู้ป่วยควรที่จะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ ในโรคหลอดเลือดดำอย่างหลายๆอย่างสามารถเกิดผลเสีย ภาวะแทรกซ้อนได้ จนถึงสามารถเสียชีวิตได้ อย่างเช่นหลอดเลือดดำอุดตันที่บริเวณขา ก้อนเลือดเหล่านี้สามารถลอยไปอุดหลอดเลือดในหัวใจ หรืออาจจะเป็นแผลเรื้อรังมานานผู้ป่วยสามารถเป็นมะเร็งได้ ดังนั้นการรีบปรึกษาแพทย์ แต่เนิ่นๆจึงเป็นส่วนที่สำคัญในการรักษา และทำให้ปัญหาต่างๆสามารถได้รักษาอย่างถูกต้อง
                      การรักษาโดยการพันขาหรือใส่ถุงน่อง เป็นการรักษาโรคหลอดเลือดดำที่คุ้นเคยกันแต่ปัญหาที่สำคัญคือการพันขาหรือใส่ถุงน่องที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะถุงน่องที่มีความดันที่ข้อเท้าไม่ถึง 20-30 มิลลิเมตรปรอท จะไม่สามารถรักษาโรคหลอดเลือดดำได้เลย หรือประหนึ่งว่าไม่ได้รับการรักษา ดังนั้นการใส่ถุงน่องหรือการพันขาต้อทำได้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์


 

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สาว 6 อาชีพ กับ “เส้นเลือดขอด”



หากจะพูดถึงอาชีพของผู้หญิงที่เสี่ยงเกิดเส้นเลือดขอดก็มักเป็นคุณครู นางพยาบาล แอร์โฮสเตส พนักงานขายในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทางและสาวออฟฟิศ ซึ่งด้วยหน้าที่การงานมีรายละเอียดทำให้เข้าข่ายเสี่ยงดังนี้
 

การรักษา

เมื่อท่านมีภาวะหลอดเลือดดำผิดปกติแล้ว มีการรักษาหลายแบบ ได้แก่
1. การรักษาโดยยา :  การใช้ยาบำบัดภาวะหลอดเลือดดำผิดปกติ

2. Sclerotherapy : คือการฉีดสารเพื่อบำบัดภาวะหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังโป่งพองชนิดที่มีขนาดเล็ก

3. Vein  Striping :  คือการผ่าตัดดึงหลอดเลือดดำโป่งขดออก
 4.     การใส่ถุงน่องเพื่อสุขภาพ  เป็นที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษจะมีแรงบีบรัดต่อขาที่ค่อย ๆ เพื่อตามสรีระที่เรียกว่า  Gradient  Compression sclerotherapyเพราะว่าแรงบีบจะสูงสุดบริเวณข้อเท้า แล้วค่อย ๆ ไล่ลดหลั่นตามลำดับเมื่อไต่ระดับสูงขึ้นมาที่ต้นขา แรงบีบรัดนี้จะช่วยบีบเนื้อเยื่อและจะช่วยให้กล้ามเนื้อบีบเพิ่มแรงสูบฉีดเลือดดีขึ้น ทำให้เลือดไหลกลับและลิ้นหลอดเลือดดำปิดได้ดีขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งถุงน่องจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยขานั่นเอง  โดยจะต้องสวมถุงน่องอย่างสม่ำเสมอ  และต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดดำคั่งบริเวณขา  การสวมถุงน่องเพื่อสุขภาพที่มีแรงบีบรัดที่ค่อย ๆ เพิ่มนี้ถือเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในรายที่มีอาการปวดเมื่อย หรือที่มีอาการที่เท้า,ข้อเท้า  หรือขา  และยังสามารถใช้ภายหลังผ่าตัดหลอดเลือดดำโป่งขด หรือหลังรักษาโดยการฉีดยาให้หลอดเลือดดำแข็งตัวด้วย (

การป้องกันและบรรเทาอาการ


หลอดเลือดดำต้องทำงานหนักวันแล้ววันเล่า  การว่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ, การเดิน, วิ่งเหยาะ ๆ  หรือขี่จักรยานล้วนช่วยการทำงานของหลอดเลือดดำและให้ประโยชน์ต่อขา  ตลอดจนร่างกายของคุณด้วย มี กฎทองให้คุณปฏิบัติเพื่อการได้มาซึ่งขาที่มีคุณภาพดี  คือ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดขอด

1. กรรมพันธุ์  ความอ่อนแอของลิ้นหลอดเลือดดำที่นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดดำโป่งขด ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดดำในผู้ชายได้เช่นกัน



2. ผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศที่ทำให้มีเนื้อเยื่อประสานที่หลวมมากจนเป็นเหตุให้หลอดเลือดดำโป่งออกจนเกินไป

3.  ขาดการออกกำลังกาย  การยืนนิ่งและนั่งเป็นเวลานานในแต่ละครั้งจะทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อขาหยุดลงจนเกิดการคั่งของเลือดที่ขาและหลอดเลือดดำโป่งพองมากขึ้น  การเดินทางนาน ๆ ในรถยนต์  เครื่องบิน  หรือแม้แต่รถไฟที่นั่งนานมากกว่า 5 ชั่วโมงจะสร้างความตึงเครียดให้แก่หลอดเลือดดำมาก โดยเฉพาะคนอายุมากกว่า 40ปี  อ้วน มีโรคหัวใจ มีเส้นเลือดขอดมาก เคยเป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตัน เพิ่งผ่าตัดมา กินฮอร์โมนสังเคราะห์อยู่


4.  เครื่องนุ่งห่มที่คับแน่นเกินไป

5.  การสวมใส่รองเท้าส้นสูง

6.  ความอ้วน


7.  การดื่มสุรามากไป

8.  การอาบน้ำร้อน การอบไอน้ำและสัมผัสแสงแดดมากเกินไป

9.  การตั้งครรภ์ หลอดเลือดดำจะได้รับแรงกดดันเพิ่มเป็นสองเท่าของยามปกติ  เนื่องจากหลอดเลือดดำต้องขนส่งเลือดในปริมาณมากขึ้น  อีกทั้งความเข็มข้นของฮอร์โมน โปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น มดลูกที่โตขึ้นจนเกิดแรงกดดันเพิ่มขึ้นกับหลอดเลือดดำในช่องเชิงกรานและสกัดกั้นการไหลของเลือดกับสู่หัวใจ บ่อยครั้งจะเห็นหลอดเลือดดำให้ผิวหนังโป่งออกหรือหลอดเลือดดำโป่งขดเกิดขึ้นครั้งแรกในระหว่างตั้งครรภ์  แล้วมักจะหายไปอย่างน้อยก็บางส่วนหลังจากคลอดบุตรคนแรกแต่ความเสี่ยงต่อหลอดเลือดดำผิดปกติจะเพิ่มขึ้นในการตั้งครรภ์ครั้งต่อ ๆ ไป

มารู้จักเส้นเลือดขอดกันเถอะ



ผู้หญิงทุกๆ 1 ใน 2 คนและผู้ชายทุก 1ใน 4 คนมีโอกาสเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดดำทำให้เกิดอาการปวดและไม่สบายขาได้ ความผิดปกติตั้งแต่เส้นเลือดดำขอด (varicose  vein) ไปจนถึงเส้นเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis) จะส่งผลร้ายแรงตามมาคือ เส้นเลือดดำพร่องประสิทธิภาพเรื้องรัง (chronic venous insufficiency)

การทำงานของหลอดเลือดดำ
               การไหลเวียนของเลือดเริ่มจากหัวใจช่วยสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่ายกาย ส่วนหลอดเลือดดำจะใช้กลไกการต้านแรงโน้มถ่วงเพื่อขนส่งเลือดกลับไปยังหัวใจ การนำเลือดกลับสู่หัวใจเกิดขึ้นจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อขาร่วมกับส่วนที่เรียกว่าลิ้นของหลอดเลือดดำ ขณะเดิน กล้ามเนื้อจะค่อยๆ บีบหลอดเลือดดำและผลักดันให้เลือดไหลผ่านจากลิ้นหนึ่งไปยังอีกลิ้นหนึ่ง แต่ละลิ้น ประกอบด้วยแผ่นผับ 2 แผ่น ทำหน้าที่เหมือนประตูน้ำที่เป็นคู่ เพื่อป้องกันไม่ให้แรงโน้มถ่วงของโลกดึงเลือดกลับสู่ส่วนขา

ขาของคนที่สุขภาพปกติจะมีหลอดเลือดดำที่มีผนังเรียบและยึดหยุ่นปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยน แปลงของแรงดันในหลอดเลือดดำได้ดีเมื่อกล้ามเนื้อน่องบีบตัวขณะเดิน ลิ้นของหลอดเลือดดำจะเปิดในทิศทางที่มุ่งสู่หัวใจเพื่อให้เลือดไหลผ่านไป พอกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลิ้นก็จะปิดเพื่อป้องกันเลือดไหลกลับ
               แต่ถ้าผนังหลอดเลือดดำเสียหายไปเพราะภาวะหลอดเลือดดำโป่งขด หรือเกิดลิ่มเลือดจนหลอดเลือดอุดตันก็จะโป่งพองจนลิ้นไม่สามารถปิดได้สนิท เมื่อร่างกายอยู่ในท่ายืนเลือดที่จะไหลกลับหัวใจก็จะหยุดนิ่งอยู่ที่ส่วนขา แรงดันภายในหลอดเลือดดำใหญ่ที่อยู่ภายใต้ผิวหนังก็จะสูงขึ้นจนหลอดเลือดดำบวม

              อาการเริ่มแรกที่พบบ่อยที่สุดคือ  ความรู้สึกว่าขาเมื่อยล้า  หรือปวดน่อง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลายืนนาน ๆ ต่อมาน้ำเลือดจะคั่งอยู่ที่ส่วนเท้าและข้อเท้าจนทำให้บวม  ผิวหนังที่ปกคลุมข้อเท้าจะบางลงและมีสีคล้ำหรืออาจแตกเป็นแผลที่เรียกว่าแผลเลือดคั่ง ( venous  stasis  ulcer)
           เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น  ผนังของหลอดเลือดดำจะมีความยืดหยุ่นลดลงและเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดดำได้ง่ายขึ้น