วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาการปวดหู




อาการปวดหูเป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ  ซึ่งอาจเกิดจากโรคของหูเอง  หรือเกิดจากโรคของอวัยวะอื่นๆ สำหรับบทความนี้จะทำให้ท่า่นได้ทราบถึงสาเหตุของอาการปวดหู รายละเอียดการปวดจากส่วนต่างๆ ของหู ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้ ว่ามันเกิดจากอะไร เราไปไขข้อสงสัยกันค่ะ




สาเหตุของอาการปวดหู 
พยาธิสภาพที่เกิดจากโรคของหูเอง ทั้งหูชั้นนอก, หูชั้นกลาง และหูชั้นใน 
หูชั้นนอก :
 - การบาดเจ็บของใบหู, ช่องหูชั้นนอก และเยื่อบุแก้วหู
 -  สิ่งแปลกปลอมในช่องหูชั้นนอก    
 -  ขี้หูอุดตันในช่องหูชั้นนอก
 - เนื้องอกของใบหู, ช่องหูชั้นนอก
-  การอักเสบของกระดูกอ่อนของใบหู (perichondritis) 
-  หูชั้นนอกอักเสบชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง 
-  ฝีในช่องหูชั้นนอก
 -  เยื่อบุแก้วหูอักเสบ 

หูชั้นกลาง :
 -  การบาดเจ็บของหูชั้นกลางจากการเปลี่ยนแปลงของความดันบรรยากาศ (barotrauma) ทำให้มีเลือดออกในหูชั้นกลาง
-  ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดความดันเป็นลบในหูชั้นกลาง 
 -  เนื้องอกในหูชั้นกลาง และโพรงอากาศมาสตอยด์
 -  หูชั้นกลางอักเสบชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง
 -  โพรงอากาศมาสตอยด์อักเสบเฉียบพลัน
 -  ฝีของโพรงอากาศมาสตอยด์ 

หูชั้นใน :  
 - การบาดเจ็บของหูชั้นใน ทำให้มีเลือดออกในหูชั้นใน
 -  เนื้องอกของประสาทการทรงตัว เช่น acoustic neuroma
 -  หูชั้นในอักเสบ (labyrinthitis) 

พยาธิสภาพที่เกิดจากโรคของอวัยวะอื่นๆ แล้วมีอาการปวดร้าวมาที่หู  เนื่องจากหูเป็นอวัยวะที่มีประสาทสมองคู่ที่ 5, 7, 9 ,10 และ ประสาทไขสันหลังส่วนคอช่วงบนมาเลี้ยง   ดังนั้นเมื่อมีพยาธิสภาพของอวัยวะที่เลี้ยงด้วยประสาทดังกล่าว จะทำให้มีอาการปวดหูได้ (referred otalgia) 

จากประสาทสมองคู่ที่ 5
จมูกและไซนัส 
- ผนังกั้นช่องจมูกคด และไปกดกับเยื่อบุจมูกด้านข้าง 
- เนื้องอกของจมูก และ/หรือไซนัส
- การติดเชื้อ เช่น จมูกอักเสบ, ไซนัสอักเสบ 

โพรงหลังจมูก 
- การบาดเจ็บ เช่น การตัดต่อมอดีนอยด์
- เนื้องอกของโพรงหลังจมูก 
 - การติดเชื้อ (โพรงหลังจมูกอักเสบ)     
        
เหงือก, ฟันและขากรรไกร  
 - การสบฟันที่ผิดปกติทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรทำงานผิดปกติ 
  - เนื้องอกของขากรรไกร 
  - ฟันผุ, รากฟันอักเสบ, เหงือกอักเสบ
  - ฟันคุด, ฝีที่รากฟัน
  - ข้อกระดูกขากรรไกรอักเสบ
       
ต่อมน้ำลาย    
 - นิ่วในท่อน้ำลายของต่อมน้ำลาย 
 - การติดเชื้อ (ต่อมน้ำลายอักเสบ) 

ช่องปาก และลิ้นส่วนหน้า  
 -  เนื้องอกของช่องปาก และลิ้นส่วนหน้า 
 - การอักเสบติดเชื้อในช่องปาก และลิ้นส่วนหน้าอื่นๆ เช่น                      
- หลอดเลือดที่ขมับอักเสบ (temporal arteritis)
 - เนื้องอกของประสาทสมองคู่ที่ 5 (เช่น schwannoma)
 - ประสาทมีความไวผิดปกติ (trigeminal หรือ sphenopalatine   neuralgia) 

จากประสาทสมองคู่ที่ 7 
 -  การบาดเจ็บของประสาท
 -  เนื้องอกของประสาทสมองคู่ที่ 7 (เช่น schwannoma)
 - การอักเสบติดเชื้อ เช่นจากไวรัส (Ramsay-Hunt Syndrome)
-  อัมพาตของประสาทแบบเบลล์ (Bell’s palsy)
 -  ประสาทมีความไวผิดปกติ (geniculate neuralgia) 

จากประสาทสมองคู่ที่ 9 และ 10 
คอหอยส่วนบนและลิ้นส่วนหลัง (โคนลิ้น) 
 - การบาดเจ็บ เช่น ก้างหรือกระดูกตำคอ ปักที่ทอนซิล หรือโคนลิ้น เกิดการอักเสบหรือเกิดแผล, การตัดต่อมทอนซิล 
 - เนื้องอก เช่น มะเร็งของต่อมทอนซิล, มะเร็งของโคนลิ้น 
- การติดเชื้อ เช่น ผนังคอหอยอักเสบ, ต่อมทอนซิลที่ผนังคออักเสบ, หนองฝีของต่อมทอนซิล, ต่อมทอนซิลที่โคนลิ้นอักเสบ,ต่อมน้ำเหลืองที่ผนังหลังคออักเสบ กล่องเสียง และคอหอยส่วนล่าง และหลอดอาหาร
- การบาดเจ็บ เช่น ก้าง หรือกระดูก หรือสิ่งแปลกปลอม 
- เนื้องอก 
 - การติดเชื้อ และการอักเสบ การระคายเคือง 

อื่นๆ เช่น ประสาทไวผิดปกติ (glossopharyngeal neuralgia) 
 จากประสาทไขสันหลังส่วนคอช่วงบน 
  - การบาดเจ็บ เช่น การเกิดอุบัติเหตุบริเวณคอ, มีข้ออักเสบบริเวณคอ หรือ    กล้ามเนื้อคออักเสบ, ประสาทอักเสบหลังการผ่าตัดบริเวณคอ, โรคหมอนรองกระดูกต้นคอ 
     - เนื้องอก 
   - การติดเชื้อ เช่น ฝี หนองของกล้ามเนื้อคอ, ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ 
  - อื่นๆ เช่น กระดูกคอเสื่อม 
                
            การวินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดหู   แพทย์จะซักประวัติอาการของหูต่างๆ รวมถึง อาการที่ผิดปกติของอวัยวะอื่นๆโดยรอบ โดยเฉพาะอวัยวะที่เลี้ยงด้วยประสาทสมองคู่ที่ 5, 7, 9, 10 และ ประสาทไขสันหลังส่วนคอช่วงบน  รวมถึงการตรวจร่างกายทางหู, คอ , จมูก อย่างละเอียด รวมทั้งช่องปาก   เหงือก   ฟัน  ข้อต่อขากรรไกร และในบางรายอาจต้องส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องตรวจ, การถ่ายภาพรังสี โดยใช้เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือใช้คลื่นแม่เหล็ก (MRI) 
การรักษา 

การรักษาตามอาการ เช่น อาจใช้ยาระงับปวดชั่วคราว ในรายที่กำลังหาสาเหตุ หรือยังหาสาเหตุไม่พบ 

การักษาตามสาเหตุ 
จะเห็นว่าอาการปวดหู เกิดจากหลายสาเหตุตั้งแต่ การอักเสบธรรมดาของหูไปถึงเนื้องอกของอวัยวะอื่นๆ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจ  เมื่อมีอาการปวดหู ควรปรึกษาแพทย์หู คอ จมูก เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดหู

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
ผศ. นพ. ปารยะ   อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา 
 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล